ณรงค์วิทย์ แสนทอง
ขึ้นชื่อว่า \"คน\" ในทุกหนทุกแห่งไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ เพศ สัญชาติ เชื้อชาติ และศาสนา ย่อมหลีกหนีไม่พ้นกับคำว่า \"ปัญหา\" พูดง่ายๆว่าปัญหากับคนเป็นของคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ที่ไหนมีคน ที่นั่นมีปัญหา
เมื่อคนหนีไม่พ้นคำว่า \"ปัญหา\" เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาและกำจัดปัญหาให้กับคนได้คือ การให้คำปรึกษา (Counseling) เป็นทางออกและทางเลือกที่เหมาะสมกับหลายๆสถานการณ์ในชีวิตคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตของคนที่ทำงานในองค์การ
เราต้องเข้าใจว่าคนที่มีอยู่รวมกันในองค์การใดองค์การหนึ่งนั้น มาจากต่างพ่อต่างแม่ ต่างเพศต่างวัย ต่างชนชั้นต่างวรรณะ ต่างวุฒิต่างการศึกษา และมีความต่างจิตต่างใจกันเป็นพื้นฐาน เมื่อเข้าอยู่รวมกันโดยมีผลประโยชน์ร่วมกันแล้ว การกระทบกระทั่งกันทั้งเรื่องของงานและเรื่องของส่วนตัวก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มากบ้างน้อยบ้าง สลับกันไป ตามตลาดอารมณ์ของคนในแต่ละช่วงเวลา
ในทุกสังคม เรามักจะเห็นว่าเมื่อคนบางคนมีปัญหา คนบางคนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งมีทั้งผู้ให้คำปรึกษาเพราะความจำเป็น หรือเป็นผู้ให้คำปรึกษาแบบสมัครใจ มีทั้งผู้ที่มีความสามารถในการให้คำปรึกษาและผู้ที่ขาดความเข้าใจในหลักของการให้คำปรึกษา อาจจะแก้ปัญหาได้บ้างไม่ได้บ้าง
เมื่อหันมามองในองค์การของเรา จะพบว่าเมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหาเขามักจะหาใครบางคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมเป็นผู้ให้คำปรึกษา ถ้าผู้ให้คำปรึกษาสามารถช่วยให้เขาลดระดับของปัญหาลงหรือแก้ปัญหาได้ ครั้งต่อๆไปเมื่อมีปัญหาเขาก็จะเดินเข้ามาหาอีก และคนที่เป็นผู้ให้คำปรึกษานี้จะได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นผู้นำกลุ่มทางจิตใจไปได้เหมือนกัน ถ้าผู้ที่เป็นผู้นำทางจิตใจของคนในองค์การเป็นคนดีก็ดีไป แต่ถ้าผู้นำทางจิตใจอาศัยความได้เปรียบนี้ไปใช้ในทางที่ไม่สร้างสรรค์อาจจะเกิดปัญหาอันชวนให้ปวดหัวแก่การบริหารงานภายในองค์การได้เหมือนกัน ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการให้คำปรึกษาในองค์การเกิดขึ้นตามยถากรรม ไร้รูปแบบ ไร้กระบวนยุทธ์ หรือเกิดกระบวนการให้คำปรึกษาแบบลองผิดลองถูก องค์การจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดทำระบบการให้คำปรึกษาขึ้นภายในองค์การ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
แนวทางที่ได้กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างที่พอจะนำไปใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรมในองค์การได้ ส่วนขั้นตอนและรายละเอียดการนำไปใช้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละองค์การ เช่น บางองค์การอาจจะมีระบบการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ เพราะผู้ขอคำปรึกษาจะรู้สึกสะดวกว่าการเข้ามาขอคำปรึกษาต่อหน้า
ถ้าองค์การได้ให้ความสำคัญกับระบบการให้คำปรึกษาอย่างจริงจังแล้ว โอกาสที่จะเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมของคนคงจะลดน้อยลง โอกาสที่จะเกิดปัญหาใหญ่ๆคงจะมีน้อยลงเช่นกัน นอกจากนี้ระบบการให้คำปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้คำปรึกษาเชิงรุก จะช่วยให้องค์การสามารถยกระดับความสามารถของคนให้สูงขึ้นได้ เพราะคนบางคนมีศักยภาพในตัวเองสูงมาก ขาดเพียงแต่ช่องทางที่จะดึงเอาศักยภาพออกมาใช้เท่านั้น
เราต้องยอมรับว่า \"จิตใจคือศูนย์บัญชาการสูงสุดของคน\" ดังนั้น การที่เราจะแก้ปัญหาในระดับต้นเหตุ และพัฒนาคนที่ต้นตอนั้น เราจะต้องจัดการกับจิตใจของคนให้ได้ก่อน และระบบการให้คำปรึกษาน่าจะเป็นคำตอบสุดท้ายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่องค์การควรเลือกใช้ การนำระบบการให้คำปรึกษาเข้ามาใช้ในองค์การเปรียบเสมือนการฉีดยาเพื่อรักษาโรคและการวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้นกันให้กับร่างกายให้ต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆได้ แล้วองค์การของท่านมีภูมิคุ้มกันความบกพร่องทางจิตใจให้กับคนในองค์การของท่านแล้วหรือยัง?
|