กฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งและควบคุมกิจการโรงแรม
กฎหมายโรงแรมที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ได้แก่ พรบ. พ.ศ. 2475 แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้ง คือ พ.ศ. 2484, 2495 และ 2503 แต่กฎหมายและระเบียบเกี่ยวข้องกับโรงแรมก็ยังดูเก่าแก่
ล้าสมัยมาก ซึ่งถือเป็นปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายที่เกิดขึ้นในกิจการโรงแรม ที่ควรทราบดังนี้
เจ้าสำนัก ในกฎหมายโรงแรมนั้นหมายถึง บุคคลผู้ควบคุมและจัดการโรงแรมหรือผู้จัดการ Hotel Manager คำว่าเจ้าสำนัก เป็นคำที่ทางราชการโดยเฉพาะกองทะเบียน กรมตำรวจ ยังใช้อยู่ เนื่องจากเป็นชื่อตำแหน่งที่เรียกตามกฎหมาย
แต่ถ้านำคำนี้มาใช้ในปัจจุบัน เจ้าสำนักก็จะหมายถึง แม่เล้า หรือพ่อเล้า นั่นเอง
อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเปิดโรงแรม
ในการออกใบอนุญาตให้เปิดโรงแรม (รวมถึงการต่อใบอนุญาตปีละครั้ง) ทางราชการจะเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี ตามอัตราค่าเช่าห้องพัก ดังนี้
1. ห้องพักที่มีอัตราค่าเช่าห้องละไม่เกิน 40.- บาทต่อหนึ่งวัน เก็บห้องละ 10.- บาท
2. ห้องพักที่มีอัตราค่าเช่าห้องละเกิน 40.- บาท แต่ไม่เกิน 80.- บาทต่อหนึ่งวัน เก็บห้องละ 20.- บาท
3. ห้องพักที่มีอัตราค่าเช่าห้องละเกิน 80.- บาท แต่ไม่เกิน 120.- บาทต่อหนึ่งวัน เก็บ
ห้องละ 30.- บาท
4. ห้องพักที่มีอัตราค่าเช่าห้องละเกิน 120.- บาทแต่ไม่เกิน 160.- บาทต่อหนึ่งวัน เก็บ
ห้องละ 40.- บาท
5. ห้องพักที่มีอัตราค่าเช่าห้องละเกิน 160.- บาท แต่ไม่เกิน 200.- บาทต่อหนึ่งวัน เก็บห้องละ 50.- บาท
6. ห้องพักที่มีอัตราค่าเช่าห้องละเกิน 200.- บาท แต่ไม่เกิน 240.- บาทต่อหนึ่งวัน เก็บห้องละ 60.- บาท
7. ห้องพักที่มีอัตราค่าเช่าห้องละเกิน 240.- บาท แต่ไม่เกิน 280.- บาทต่อหนึ่งวัน เก็บห้องละ 70.- บาท
8. ห้องพักที่มีอัตราค่าเช่าห้องละเกิน 280.- บาทขึ้นไปต่อหนึ่งวัน เก็บห้องละ 80.- บาท
หมายเหตุ : อัตราค่าเช่าห้องพักข้างต้น ให้รวมถึงค่าบริการหรือค่าเช่าสิ่งใด ๆ อันติดตั้งเป็นประจำ
อยู่ในห้องพักนั้นด้วย (กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2504) ออกตามความในพระราช-
บัญญัติโรงแรม พุทธศักราช 2478)
จะเห็นได้ว่า อัตราค่าเช่าห้องที่ถือเป็นเกณฑ์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมนี้ น่าจะใช้ได้เฉพาะโรงแรมเล็ก ๆ ประเภทติดพัดลมในต่างจังหวัด ถ้าเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งในกรุงเทพฯ แล้ว อัตราค่าเช่าห้องจะสูงกว่าอัตราที่ถือเป็นเกณฑ์ข้างต้นมากนัก จนแทบจะเป็นอัตราคนละประเทศทีเดียว และทำให้อัตราค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บข้างต้นดูเป็นจำนวนที่น้อยเกินไปด้วย
นายทะเบียนโรงแรม
ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่นายทะเบียนโรงแรม ได้แก่
1. ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นนายทะเบียนในกรุงเทพมหานคร
2. ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นนายทะเบียนในแต่ละจังหวัด
(ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2528 เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียน ตาม
พระราชบัญญัติโรงแรม พุทธศักราช 2478)
การเปิดโรงแรมโดยมิได้รับอนุญาต
ในมาตรา 6 ของ พรบ. โรงแรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2495 ได้เพิ่มโทษสำหรับการเปิดโรงแรม โดยมิได้รับอนุญาต (ตามมาตรา 19 ของ พรบ. โรงแรม 2478) โดยกำหนดไว้ดังนี้
ผู้ใดเปิดโรงแรมขึ้น โดยมิได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 4 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ผู้ใดดำเนินกิจการในฐานะเป็นเจ้าสำนักแห่งโรงแรมที่กล่าวแล้ว หรือโรงแรมซึ่งถูกยึดหรือเพิกถอนใบอนุญาต มีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
เจ้าสำนักคนใดซึ่งถูกปรับสำหรับความผิดตามที่กล่าวไว้ในวรรคก่อน ยังคงรับผู้พักคนใดไว้ในโรงแรมนั้นต่อไป หรือรับผู้พักใหม่อีก มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(โปรดดูพระราชบัญญัติโรงแรม พุทธศักราช 2478 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2484 ฉบับที่ 3 พ.ศ.2495 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2503 และกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในมาตรา 27 แห่งพระราช-บัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2478 ในภาคผนวกของหนังสือนี้ประกอบด้วย)
หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตตั้งโรงแรมและสั่งปิดโรงแรม
ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 387/2528 เรื่อง การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงแรม พุทธศักราช 2478)
หลักเกณฑ์การขออนุญาต
1. อาคารที่ใช้เป็นห้องพัก ต้องเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหรืออาคารอื่นที่มีลักษณะ
มั่นคงแข็งแรง ส่วนจำนวนชั้นและห้องพักต้องเหมาะสมกับสภาพแห่งท้องถิ่น ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับเป็นที่พักผู้เดินทาง หรือนักท่องเที่ยวโดยแท้ และไม่มีลักษณะหรือพฤติการณ์อันส่อไปในทางเป็นแหล่งมั่วสุม หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
2. สถานที่ตั้งต้องไม่อยู่ใกล้สถานที่ราชการ โรงเรียน สถานศึกษา วัด สถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา สถานรักษาพยาบาลผู้ป่วยหรือโรงพยาบาล ในรัศมี 100 เมตร และต้องตั้งอยู่ในสถานที่มีความเหมาะสม สะดวกแก่การตรวจตราควบคุมของทางราชการ
3. เส้นทางเข้า ออก จะต้องไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการจราจร
4. สถานที่จอดรถ โรงแรมต้องมีสถานที่จอดรถ กลับรถ เพียงพอสมดุลกับจำนวนห้องพัก โดยสถานที่จอดรถต้องอยู่แยกส่วนออกต่างหากจากบริเวณห้องพัก ไม่ให้ปะปนกัน และไม่มีทางสำหรับให้รถแล่นผ่านบริเวณห้องพักแต่ละชั้น
การพิจารณาอนุญาต
การพิจารณาอนุญาตสร้างหรือตั้งโรงแรม การเปิดดำเนินกิจการโรงแรม การเปลี่ยนชื่อ หรือยี่ห้อ การย้ายสถานที่ การเพิ่มหรือลดจำนวนห้องสำหรับพักแห่งโรงแรม ตามพระราชบัญญัติ โรงแรม พุทธศักราช 2478 ให้ถือปฏิบัติดังนี้
1. ในกรุงเทพมหานคร ให้ผู้บังคับบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นนายทะเบียนโรงแรม ผู้มีอำนาจอนุญาต โดยมีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองดำเนินการตามพระราชบัญญัติ
โรงแรม พุทธศักราช 2478 ทำหน้าที่พิจารณาตรวจสอบ กลั่นกรอง และเสนอความคิดเห็นต่อนาย
ทะเบียน ประกอบด้วย
1) หัวหน้าอำนวยการกรมตำรวจ เป็นประธานกรรมการ
2) ผู้แทนกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ
3) รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นกรรมการ
4) ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
5) รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นกรรมการ
6) ผู้แทนจเรตำรวจ ซึ่งไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยจเรตำรวจ เป็นกรรมการ
7) ผู้บังคับการกองทะเบียน กรมตำรวจ เป็นกรรมการ
8) ผู้กำกับการตำรวจนครบาลท้องที่ที่เป็นสถานที่ตั้งโรงแรม เป็นกรรมการ
9) ผู้กำกับการ 2 กองทะเบียน กรมตำรวจ เป็นกรรมการและเลขานุการ
10) สารวัตรแผนกโรงแรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. ในจังหวัดอื่น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนโรงแรม ผู้มีอำนาจอนุญาต
โดยมีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรงแรม พุทธศักราช 2478 ของ
จังหวัด ทำหน้าที่พิจารณาตรวจสอบ กลั่นกรอง และเสนอความเห็นต่อนายทะเบียน ประกอบด้วย
1) รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
2) ปลัดจังหวัด เป็นกรรมการ
3) อัยการจังหวัด เป็นกรรมการ
4) ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด เป็นกรรมการ
5) สาธารณสุขจังหวัด เป็นกรรมการ
6) ศึกษาธิการจังหวัด เป็นกรรมการ
7) โยธาธิการจังหวัด เป็นกรรมการ
8) นายกเทศมนตรีท้องที่ที่เป็นสถานที่ตั้งโรงแรม เป็นกรรมการ
9) นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ เป็นกรรมการท้องที่ที่เป็นสถานที่ตั้งโรงแรม
10) ประธานกรรมการสุขาภิบาลท้องที่ที่เป็นสถานที่ตั้ง เป็นกรรมการโรงแรม
11) หัวหน้าสำนักงานจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
12) หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ สำนักงานจังหวัด เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
13) จ่าจังหวัด เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
(สำหรับเมืองพัทยา ให้ปลัดเมืองพัทยาเป็นกรรมการแทนในข้อ 8)
หมายเหตุ : ในข้อ 2 ได้แก้ไขใหม่ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 635/2531 ลงวันที่ 2
ธันวาคม 2531 เรื่องการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงแรม พุทธศักราช 2478
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมอาคารโรงแรม
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมอาคารโรงแรม อันเป็นการเพิ่มจำนวนห้องพักของ โรงแรม ซึ่งมีพฤติการณ์ส่อให้เห็นถึงวัตถุประสงค์อันขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี ให้ถือนโยบายในทางไม่อนุญาต
การตรวจตราควบคุมโรงแรม
1. ในกรุงเทพมหานคร ให้นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรแผนกควบคุมโรงแรม กองกำกับ การ 2 กองทะเบียน และนายตำรวจท้องที่ตั้งแต่สารวัตรขึ้นไป มีหน้าที่ตรวจตราสอดส่องให้โรงแรมปฏิบัติตามกฎหมาย
2. ในจังหวัดอื่น ให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ปลัดอำเภอ และนายตำรวจท้องที่ตั้งแต่สารวัตรขึ้นไป มีหน้าที่ตรวจตราสอดส่องให้โรงแรมปฏิบัติตามกฎหมาย แล้วให้เสนอปิด ดังนี้
ครั้งที่ 1 ปิดมีกำหนด 15 วัน
ครั้งที่ 2 ปิดมีกำหนด 30 วัน
ครั้งต่อ ๆ ไป ให้อยู่ในดุลยพินิจของอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
หากปรากฏว่าการกระทำผิดเป็นการละเลยของทางโรงแรม ให้พิจารณาเสนอปิด ดังนี้
ครั้งที่ 1 ปิดมีกำหนด 7 วัน
ครั้งที่ 2 ปิดมีกำหนด 15 วัน
ครั้งต่อ ๆ ไป ให้อยู่ในดุลยพินิจของอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
2. การเสนอเรื่องเพื่อพิจารณาสั่งปิดโรงแรม จะต้องมีบันทึกการสืบสวน และพยานหลักฐานให้แน่ชัดเสนอเป็นหลักฐาน ซึ่งประกอบด้วย
1) สำเนาบันทึกการจับกุม
2) สำเนาคำให้การผู้กล่าวหาและพยานสำคัญ
3) รายงานพฤติการณ์ของผู้ต้องหาว่ามีอย่างไร และขณะจับกุมผู้ต้องหาอยู่ใน
ลักษณะหรือสภาพอย่างใด
4) ผู้ต้องหามีประวัติต้องโทษหรือไม่ ข้อหาอะไร
5) หากคดีอยู่ในอำนาจที่พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับได้ และผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ และยินยอมให้เปรียบเทียบปรับแล้ว ก็ไม่ต้องสำเนาคำให้การผู้กล่าวหาและพยาน แต่ให้สำเนาบันทึกเปรียบเทียบปรับไว้แทน
6) หากคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงและผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ก็ให้รีบนำตัวฟ้องศาล แล้วรายงานผลคดีไปพร้อมกัน โดยไม่ต้องสำเนาคำให้การผู้กล่าวหาและพยาน แต่ให้สำเนาบันทึกฟ้องด้วยวาจาไว้แทน
ส่วนการยึดใบอนุญาตให้ปฏิบัติตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พุทธศักราช 2478
การอุทธรณ์
1. กรณีนายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมออกใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตในกรณีอื่น ๆ หรือ
นายทะเบียนปิดโรงแรมหรือยึดใบอนุญาต เจ้าของหรือเจ้าสำนักมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
2. ให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พุทธศักราช 2478
ประกอบด้วย
1) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ฝ่ายบริหาร เป็นประธานกรรมการ
2) ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ
ประจำเขตจังหวัดที่เป็นสถานที่ตั้งโรงแรม
3) ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
4) ผู้แทนกรมการปกครอง เป็นกรรมการ
5) ผู้แทนกรมอัยการ เป็นกรรมการ
6) ผู้แทนกรมตำรวจ &nb |