ประเด็นที่มีการแก้ไข |
เนื้อหาการแก้ไข |
ผลกระทบกับบริษัท |
1. หลักประกันการทำงาน |
เปลี่ยนคำเรียกจากเดิม เงินประกันการทำงาน เป็น หลักประกันการทำงาน |
ไม่มีผลกระทบ |
2. หนี้บุริมสิทธิ์ |
เพิ่มเงินที่นายจ้างต้องชดใช้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เป็นหนี้บุริมสิทธิ์ |
ไม่มีผลกระทบ |
3. การจ้างเหมาค่าแรง |
ให้นายจ้างที่มีลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ |
3.1 ต้องคัดแยกประเภทของงานจ้างเหมา ว่ามีงานใดเข้าข่ายเป็นการจ้างเหมาค่าแรง และทำงานในลักษณะเดียวกันกับพนักงานประจำของบริษัทหรือไม่ เพียงไร
3.2 หาช่องทางในการลดผลกระทบจากกฎหมาย โดยพิจารณาแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของสัญญา ให้เป็นการจ้างทำของ หรือแก้ไขเป็นสัญญาจ้างโดยตรง ตามแต่กรณี
3.3 กรณีไม่สามารถลดผลกระทบได้ อาจต้องพิจารณาเรื่องสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่จะต้องจัดให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงนั้นต่อไป |
4. สัญญาจ้าง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง |
กรณีมีการฟ้องร้องว่ามีการเอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควร ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้มีผลใช้บังคับเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี |
อาจเป็นประเด็นปัญหาในอนาคต ต้องเพิ่มมาตรการในการสร้างเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดี |
5. การคุกคามทางเพศ |
แก้ไขจากการคุกคามทางเพศแก่ลูกจ้างหญิงและเด็ก เป็นการการไม่ระบุเพศ |
ไม่มีผลกระทบ |
6. สัญญาจ้างทดลองงาน |
กำหนดให้ชัดเจนว่า สัญญาจ้างทดลองงาน เป็นสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลา หากมีการเลิกจ้างจะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า |
อาจเป็นประเด็นปัญหาในอนาคต โดยอาจจะต้องเพิ่มขั้นตอนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับพนักงานที่ไม่ผ่านทดลองงาน
และอาจต้องแก้ไขข้อความในหนังสือแจ้งบรรจุทดลองงาน โดยยกเลิกข้อความ บริษัทมีสิทธิเลิกจ้าง โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ออกไปด้วย เพราะจะเป็นสัญญาที่ขัดกับกฎหมาย |
7. เวลาทำงานปกติ |
กำหนดเพิ่มเติมให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันนำเวลาทำงานปกติในวันที่ทำงานน้อยกว่า 8 ชั่วโมง ไปรวมกับวันทำงานอื่นได้ แต่ต้องไม่เกินวันละ 9 ชั่วโมง และไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง |
ไม่มีผลกระทบ
(กรณีนี้ เป็นการแก้ไข ม.23 ในขณะที่บริษัทปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตาม ม. 22) |
8. การทำงานของลูกจ้างหญิงมีครรภ์ |
แก้ไขเพิ่มเติมให้การทำงานล่วงเวลาในวันทำงานของลูกจ้างหญิงมีครรภ์ ที่ทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ งานธุรการ หรืองานเกี่ยวกับการเงินหรือบัญชี ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน |
กรณีพนักงานปฏิบัติการ จะต้องขออนุมัติก่อนทำงานล่วงเวลาอยู่แล้ว แต่ในกรณีพนักงานบังคับบัญชาฯ อาจต้องเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลพนักงาน |
9. ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลา และค่าล่วงเวลาในวันหยุด |
แก้ไขโดยยกเลิกการระบุอำนาจหน้าที่ในการ ลดค่าจ้าง จากเดิมที่ระบุไว้ เป็นอำนาจหน้าที่หนึ่งของลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลา |
ไม่มีผลกระทบ
(แต่เป็นนัยยะที่แสดงให้ทราบว่า ภาครัฐเองไม่ยอมรับเรื่องการลดค่าจ้างของพนักงาน) |
10. การจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี สำหรับลูกจ้างที่พ้นสภาพ |
แก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้น และให้ประโยชน์ลูกจ้างมากขึ้น โดยกำหนดรายละเอียดของการจ่ายเป็น 2 กรณี คือ
1) จ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ตามส่วนที่มีสิทธิได้รับของปีที่พ้นสภาพ สำหรับกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยการปลดออก (ได้รับเงินชดเชย)
2) จ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมจนถึงปีก่อนปีที่พ้นสภาพให้ สำหรับกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายลาออกเอง และกรณีที่ถูกเลิกจ้าง (ทั้งที่ปลดออก และไล่ออก) |
ต้องพิจารณาแก้ไขข้อบังคับ ให้สอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
การพ้นสภาพ |
ปัจจุบัน |
แนวทางแก้ไข |
พนักงานเป็นฝ่ายลาออกเอง และกรณีที่ถูกเลิกจ้าง โดยการปลดออก |
บริษัทจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่เหลืออยู่คืนให้ทั้งหมด (ตามสิทธิปีนั้น + วันหยุดสะสม) |
พิจารณาว่าจะแก้ไขหรือไม่
หากแก้ไข จะเป็นการลดสิทธิประโยชน์ของพนักงานลง |
พนักงานถูกเลิกจ้างโดยการไล่ออก |
ไม่จ่าย |
กำหนดจ่ายคืนให้เฉพาะค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนฯ สะสมที่เหลืออยู่ ณ สิ้นปีที่ผ่านมา |
|