แก้วชนิดเดียวกัน อาจจะมีชื่อเรียกขานได้หลายชื่อ แต่ด้วยการใช้งานแล้ว เหมือนกันทุกอย่าง เรื่องความจุของแก้วแต่ละชนิด ความสำคัญอยู่พอสมควร แก้วบางชนิด มีรูปทรงเดียวกัน แต่ขนาดต่างกันลิบลับ เช่นแก้วHi-ball กับแก้ว Longdrink มีขนาดต่างกันเกือบเท่าตัว
1. แก้วมาร์ตินี่ (Martini glass) ปัจจุบันมีการนำแก้วมาร์ตินี่มาใส่เหล้าค็อกเทล และเหล้าเพียวๆ (Straight up) อย่างแพร่หลายจนยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นแก้วสำหรับยุคสมัยใหม่โดยแท้ ด้วยการออกแบบให้มีก้าน ทรงยาว และมีตัวแก้วไว้ใส่เหล้า ซึ่งค่อนข้างคลาสสิคอีกชนิดหนึ่ง แก้วมาร์ตินี่น่าจะได้มีการเตรียมไว้สองขนาด ก็คือ แบบ Single martini ขนาดความจุ 2-3 ออนซ์ สำหรับใส่เหล้าตัวเดียว และ แบบ Double martini ขนาดความจุ 3-4 ออนซ์ สามารถใส่เหล้าตัวถึง 2-3 ตัว
2. แก้วค็อกเทล (Cocktail glass) เป็นแก้วที่ออกแบบมาไว้ใส่เครื่องดื่มค็อกเทลเป็นหลัก โดยที่ไม่นิยมบรรจุน้ำแข็งลงไป เพรามีความจุเพียง 6-7 ออนซ์ เครื่องผสมหลายๆชนิด หากต้องการเน้นสี และรสชาติที่คงที่จะนิยม ใส่แก้วชนิดนี้ เครื่องดื่มค็อกเทลที่พอรู้จักกันก็เช่น Margarita, Sidecar, Alexander
3. แก้วแชมเปญ ซอสเซอร์ (Champagne Saucer glass) ปัจจุบันเมื่อมีการจัดงานเลี้ยงหรูๆ จะนิยมนำแก้วแชมเปญ ซอสเซอร์ นี้ มาตั้งวางเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ และเมื่อเทสปาร์คกลิ้ง ไวน์ลงมาบนแก้ยอดใบบนสุด น้ำสีเหลืองทองนั้น ก็จะไหลลงมา เหมือนม่านสีทองอำพัน แต่ไม่นิยมนำไปใส่แชมเปญ เพราะจะทำให้ฟองสวยๆ หายไปโดยเร็ว เครื่องดื่มค้อกเทลที่ใช้แก้วนี้ก็มีอยู่เช่น Gimlet, Vimlet ตระกูล Frozen ทั่วๆไป
4. แก้วทิวลิป แชมเปญ (Tulip Champagne glass) จุดประสงค์หลักก็คือแก้วสำหรับใส่แชมเปญ เพราะต้องการอวดพรายฟองสวยๆ และต้องการเก็บก๊าซในแชมเปญให้นานขึ้น ความจุของแก้วจะประมาณ 6-7 ออนซ์ หากมีการนำไปใส่เครื่องดื่มค็อกเทลก็มักจะเป็นเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมด้วยสปาร์กกลิ้งไวน์ อยู่ด้วย เช่น Kir Royal
5. แก้วบรั่นดี (Brandy / Snifter / Balloon glass) นิยมใช้ใส่บรั่นดีหรือเหล้าตัวเดียวเพียวๆ ที่เน้นด้วยกลิ่นหอม แก้วบรั่นดีนี้ ถูกออกแบบมาให้ถือด้วยฝ่ามือ เพราะต้องการให้มีการถ่าย อุณหภูมิความรัอนจากตัวเราไปสู่แก้ว เมื่อน้ำเหล้าในแก้วอุ่นขึ้น ก็จะส่งกลิ่นหอมพวยพุ่งออกมา เครื่องดื่มค็อกเทลที่ใช้แก้วนี้ก็เช่น B&B Straight-up, Cognac Straight-up, Rusty nail Straight-up
6. แก้วลิเคียว / คอร์เดียล (Liqueur / Cordial glass) แก้วชนิดนี้มีความจุ 1 1/2 - 2 ออนซ์เท่านั้น การใส่เหล้าจึงมีที่ว่างสำหรับ 1-2 ตัวเท่านั้น ส่วนมาก จะเป็นเหล้าลิเคียว เพื่อไว้สำหรับดื่มหลัง หรือก่อนอาหาร แต่ก็มีค็อกเทลบางตัวที่ต้องใส่แก้วลิเคียวนี้ นั่นก็คือ Rainbow, B-52 และการดื่มแบบ Straight-up ทั่วๆไป
7. แก้วซาวร์ (Sour glass) เป็นแก้วที่มีความจุ ประมาณ 4-5 ออนซ์ รูปทรงจะคล้ายกับลิเคียวแต่มีขนาดใหญ่กว่า มีไว้สำหรับการใส่เหล้าพอร์ต และเครื่องดื่มผสมไม่กี่ชนิด เช่น Whisky Sour หรือตระกูลซาวร์ต่างๆ
8. แก้วเชอร์รี่ (Sherry glass) เป็นแก้วไวน์ที่มีรูปร่างสะโอดสะอง รู้จักกันดีในประเทศสเปน ชื่อ "copita" ซึ่งก็ถือเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ภาคภูมิใจยิ่งนัก การนำมาใช้สอยก็เพื่อให้เหมาะกับไวน์เชอร์รี่ที่ทำมาจากประเทศสเปนเช่นเดียวกัน ขนาดความจุจะอยู่ที่ 2-3 ออนซ์
9. แก้วมัก (Mug glass) เป็นแก้วเบียร์ที่มีหูจับ นิยมนำไปใส่เบียร์สดตามเทศกาล หรืองานเลี้ยงต่างๆ เรื่องของความจุ ไม่น่าจะมีกฏตายตัวลงไป แต่น่าจะขึ้นอยู่กับความพอใจของลูกค้า ซึ่งขนาดยิ่งใหญ่ก็จะยิ่งใส่เบียร์ได้มาก เพราะอารมณ์ของลูกค้าอยู่ในช่วงของความผาสุข สนุกสนานอยู่แล้ว และผมเองยังมองไม่เห็นค็อกเทลชนิดใดที่ใช้แก้วนี้ นอกจากน้ำมะพร้าวอ่อนที่เฉาะใหม่ๆ ขนาดความจุโดยประมาณจะอยู่ที่ 10-14 ออนซ์
10. แก้วพิลสเนอร์ (Pilsner glass) เป็นแก้วเบียร์อีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้ทั่วไปในภัตตาคาร และร้านอาหารต่างๆ ปากบานๆที่สูงขึ้นมาก็น่าจะเป็นการเปิดฟองของของเบียร์ ให้ผุดขึ้นมาน่ารับประทานยิ่งขึ้น มีค็อกเทลบ้างเหมือนกันที่นิยมใช้แก้วนี้ นั่นก็คือ Shandy, Mimosa และเครื่องดื่มตระกูลเบียร์ต่างๆ มีความจุโดยประมาณอยู่ที่ 10-14 ออนซ์
11. แก้วรองเท้าบูธ (Booth glass) เป็นแก้วเบียร์รูปทรงแฟนซีอีกชนิดหนึ่ง ที่ยังมีใช้อยู่ในบางร้านอาหาร เพราะจะเป็นการสร้างบรรยากาศ และความครื้นเครงได้อย่างสนุกสนานอีกแบบหนึ่ง จะมีความจุอยู่ไม่จำกัด แต่ที่เหมาะสมก็จะอยู่ที่ 16-20 ออนซ์ 12. แก้วไวน์แดง (Red Wine glass) โดยปกติแล้ว แก้วไวน์แดงที่เห็นดังรูปนี้ จะเหมาะกับไวน์แดงต่างชนิดกัน แต่โดยภาพรวมก็สามารถใช้ได้ทั่วไป ลักษณะของแก้วที่ดีต้องมีความใหญ่เพียงพอที่จะรินไวน์ได้พอประมาณ 2-3 คำ นั่นก็คือ ห้ามเกินครึ่งแก้วเด็ดขาด เมื่อผู้ดื่มต้องการรับรู้กลิ่นหอม อันอบอวลของไวน์อย่างชัดเจน จะต้องมีการกระตุ้นด้วยการแกว่งแก้ว ฉะนั้นแก้วไวน์แดงที่ดีจะต้องออกแบบมาให้กระทำสิ่งเหล่านี้ได้ ความจุประมาณ 8-10 ออนซ์
|